วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

IMAP Email (ไอแมพ อีเมล์) และ POP3 Email (ป๊อป3 อีเมล์) คือ อะไร


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ ระบบ Email IMAP อันดับ 1 ของประเทศไทย
ที่สามารถใช้งาน บนหลายๆอุปกรณ์ อย่างไม่มีปัญหา และ ราบรื่น
คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>



IMAP Email (ไอแมพ์ อีเมล์) คือ อะไร
เทคโนโลยีอีเมล์ IMAP (IMAP Email technology)
เป็นการสื่อสารแบบสอบทาง คือ ระหว่างอุปกรณ์เรากับ Server และ Server กับอุปกรณ์เรา  (two way communication) คือ  เมื่อเราเปิดเช็คอีเมล์ ข้อมูลใน Server มันไม่ได้ถูกดูดมาลงเครื่อง แต่มันถูกดึงข้อมูลมาเพื่อแสดงผลเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลจึงไม่มีการสูญหาย เพราะว่า โปรแกรม Outlook, อุปกรณ์สื่อสาร เป็นเพียงแค่หน้ากาก ให้มันดึงข้อมูลมาแสดงผลให้เราเห็นข้อมูลเท่านั้น
            การสื่อสารด้วยวิธีนี้ ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ของวงการอีเมล์เลยทีเดียว แต่ดังที่บอกไว้เบื้องต้นว่า (Two way communication) แสดงว่า อุปกรณ์ของเรา กับ Server มีการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หาก อินเตอร์เน็ตของเราช้า การดูอีเมล์ของเราก็ช้าตามไปด้วย ต่างจาก POP ที่ข้อมูลถูกดูดลงเครื่องไปแล้ว การดูข้อมูลนั้นจึงรวดเร็วมาก เนื่องจาก มันเรียกข้อมูลโดยตรงจากคอมพิวเตอร์เรา
                แต่ IMAP มีประสิทธิภาพ มากกว่าแบบ POP มาก ไม่ว่ารูปแบบการติดต่อ ที่เป็น (Two way communication) เช่น เมื่อคุณส่งอีเมล์อะไรออกไป มันจะถูกเก็บเอาไว้ใน Sent Box เมื่อคุณมาเปิดดูในมือถือ ใน Sent Box ก็จะเห็นข้อมูลเดียวกัน ต่างจาก POP ที่จะแสดงข้อมูลไม่เหมือนกัน





POP3 Email (ป๊อป3 อีเมล์) คือ อะไร

                ปัญหาที่พบของเทคโนโลยี POP
หากคนที่ใช้งาน Email ผ่าน อุปกรณ์สื่อสาร เช่น Iphone, Ipad หรือ Smart Phone พร้อมๆ กับการใช้งานอีเมล์ผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือ โปรแกรม Outlook ไปด้วยกัน
ปัญหาคือ เมื่อ โปรแกรม Outlook ได้ดูอีเมล์ใน Inbox ฉบับหนึ่งไปแล้ว เมื่อมาเปิดในมือถือ อีเมล์ฉบับนั้นหายไป หรือกลับกันเมื่อได้เปิดอ่านในมือถือแล้วมาเช็คอีเมล์ในเว็บ หรือ outlook อีเมล์ฉบับนั้นหายไป
การสื่อสารด้วยวิธีแบบ POP ซึ่งเป็นแบบ การสื่อสารทางเดียว (One way communication) หมาย ความว่ามันจะโหลดข้อมูลใน Inbox ลงเครื่องที่ได้ทำการเปิดเป็นเครื่องแรกก่อน และทำการลบทิ้งทันที โดยไม่มีการเก็บไว้ใน Server ทำให้เมื่อมีการมาเปิดครั้งที่ 2 อีเมล์จึงหายไป เพราะมันถูกดูดลงเครื่องที่เปิดไปแล้ว


ยกตัวอย่างปัญหาของเทคโนโลยี
POP
 เช่น มีอีเมล์ใน Inbox ชื่อหัวข้อ (Subject) ว่า “Invoice ค่าบริการเช่าอาคารสำนักงาน ส่งมาหา Email: a@company.com

เมื่อนาย a@company.com ได้ทำการเช็คอีเมล์จาก มือถือ หรือ อุปกรณ์สื่อสารแล้ว สามารถอ่านหรือเห็นหัวข้ออีเมล์ หัวข้อ (Subject) ว่า “Invoice ค่าบริการเช่าอาคารสำนักงาน แต่เมื่อนาย a ได้มาเช็คในโปรแกรม Outlook ผ่านอีเมล์ a@company.com อีกครั้ง ปรากฎว่า อีเมล์ ชื่อหัวข้อ (Subject) ว่า “Invoice ค่าบริการเช่าอาคารสำนักงาน นั้นหายไป เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะอีเมล์นั้นหายไป



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ ระบบ Email IMAP อันดับ 1 ของประเทศไทย
ที่สามารถใช้งาน บนหลายๆอุปกรณ์ อย่างไม่มีปัญหา และ ราบรื่น
คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>


วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่าง ระหว่าง ชื่อเว็บไซต์หรือโดเมนเนม (Domainname) .co.th กับ .com

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้นำด้านระบบ อีเมล์ (Email) สำหรับธุรกิจ องค์กร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่

เว็บไซต์ .com ต่างกับ .co.th อันไหนน่าเชื่อถือมากกว่ากัน , สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ความน่าเชื่อถือ ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ในการดำเนินธุรกิจ, 

ไม่อย่างนั้น เราจะจดทะเบียนบริษัท ให้มีค่าใช้จ่ายเยอะแยะทำไม ชื่อ เว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ในความน่าเชื่อถือ การจดทะเบียนเว็บไซต์ หรือ Domain .com นั้นใครๆ ก็สามารถจดได้ เพียงมีเงินเพียง 300-400 บาท โดยไม่ต้องใช้เอกสารใดๆ

แต่สำหรับ .co.th แล้วเรื่องอาจจะเยอะหน่อย เพราะต้องใช้ทั้งใบรับรองบริษัทพร้อมตราประทับ และแถมยังต้องลงนามโดยกรรมการอีก เรื่องเยอะขนาดนี้ แล้วทำไมคนอยากจะมีเว็บไซต์ .co.th
ก็เพราะว่ามันดูน่าเชื่อถือกว่ามาก

เพราะคนที่เข้าชมเว็บ .co.th ต่างรู้กันว่าการจดทะเบียนนั้นต้องเป็นบริษัท หรือ หจก. เท่านั้น ยิ่งเป็นเว็บไซต์ที่ติดต่อกับลูกค้าต่างชาติยิ่งสำคัญมากกันไปใหญ่ ที่จะต้องเป็น .co.th เพราะในต่างประเทศนั้นเค้าให้ความสำคัญกันมากและเชื่อถือว่าบริษัทคุณนั้นมีที่ตั้งอยู่จริงแน่นอน
ผู้อ่านจะสามารถสังเกตุได้ว่า บางเว็บก็เป็น

.co.jp (Comercial in Japan)  หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ที่จดขึ้นโดยบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศญีปุ่น
เช่นเดียวกัน หากเป็น
.co.th (Comercial in Thailand) หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ที่จดขึ้นโดยบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศไทย

ส่วนนามสกุลของเว็บไซต์หรือ Domain อื่นๆ มีความหมายดังนี้
โดย Domain ตามคำอธิบายด้านล่างนั้น ไม่ต้องใช้เอกสารใดๆ ในการจดทะเบียน


.com
commercial
การค้า บริษัท องค์กร สำหรับกลุ่มธุรกิจการค้า
.net
network
ระบบเครือข่าย สำหรับ กลุ่มกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเครือข่าย
.org
organization
องค์กรที่ไม่หวังผลผลตอบแทนทางธุรกิจ
.biz
business
สำหรับกลุ่มธุรกิจโดยทั่วไป คล้ายกับ .com
.info
information
ข้อมูล สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ
.name
name
เกี่ยวกับชื่อ
.us
United States
เกี่ยวกับประเทศอเมริกา
.cn
China
เกี่ยวกับประเทศจีน
.mobi
Mobile
เกี่ยวกับมือถือ

ส่วน Domain ตามด้านล่างนี้ การจด Domain ต้องใช้เอกสาร ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ 
เช่น 
.ac.th ก็ต้องใช้ใบรับรองสถานศึกษา ประทับตราสถานบัน และเซ็นต์โดยผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้มีอำนาจแทน
.or.th ก็ต้องใช้ใบก่อตั้งมูลนิธิ หรือ สมาคม ที่ออกโดยรัฐ และ เซ็นต์พร้อมประทับตราโดยประธาน

.ac.thACademic in Thailandสถาบันการศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น
.co.thCOmercial in Thailandบริษัท ห้างหุ้นส่วน ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและตั้งอยู่ในประเทศไทย เท่านั้น
.go.thGOvernmentหน่วยงานของรัฐบาลไทย รวมถึง อบต. อบจ. เทศบาล ฯลฯ
.in.thINdividual หรือ
อาจหมายถึง InThailand ก็ได้
อาจหมายถึง InThailand ก็ได้อาจหมายถึง InThailand ก็ได้อาจหมายถึง InThailand ก็ได้
หน่วยงานทุกประเภท และบุคคลทั่วไป
.mi.thMIlitary Organizationหน่วยงานทางทหาร
.net.thNETwork in Thailandหน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.or.thORganization in Thailand

หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและไม่หวังผลตอบแทนทางธุรกิจ


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้นำด้านระบบ อีเมล์ (Email) สำหรับธุรกิจ องค์กร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่
www.technologyland.co.th/email

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การตั้งค่า Email Server สำหรับเครื่อง Print ยี่ห้อต่างๆ

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเครื่อง Print: Ricoh  ส่วนเครื่อง Print อื่นๆ ก็จะมีการตั้งค่าคล้ายๆกัน


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server สำหรับธุรกิจ และองค์กร
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด >>

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

[TL] วิธีตั้งค่า อีเมล์ (Email Server) สำหรับธุรกิจแบบ IMAP บนโปรแกรม Outlook แบบหลาย ๆ users

หลายๆท่าน คงปวดหัว กับ ความซับซ้อนของโปรแกรม  Outlook ซึ่งดูแล้วมีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง
โดยคำถาม และ ปัญหาหลัก ของคนที่ใช้ ระบบ Email Server สำหรับองค์กรนั้น 

มักมีคำถามว่า หากฉันมีอีเมล์อื่นๆ ใน Outlook อยู่แล้ว แต่ต้องการให้แยกส่วนการใช้งานกันอย่างชัดเจน จะทำอย่างไร ในแต่ละ Email 

ลองดูวิธีการตั้งค่าตามด้านล่าง

ไปที่ Control Panel > Search คำว่า mail > ให้คลิกไปที่ Mail ดังภาพ


ให้คลิกไปที่ Show Profile


คลิกไปที่ Add (วิธีนี้จะทำให้ Email แต่ละตัว แยกออกจากกันอย่างชัดเจน)



ใส่ชื่ออีเมล์ และ กด OK ดังภาพ





ติ๊กเครื่องหมาย Manual >  Next>

เลือก Internet E-mail

ใส่ข้อมูล Email ดังภาพ

หลังจากนั้นกดไปที่ More Settings.

ใน Tab Outgoing Server ให้ ติ๊กเครื่องหมายดังภาพ


ใน Tab Advanced ให้ใส่ค่าดังภาพ หลังจากนั้นกด OK ออกมา


กดปุ่ม Test Account เพื่อทดสอบว่า ค่าที่เรากำหนดไปนั้นถูกต้องหมดหรือไม่




หากค่าที่ทำการกำหนดไปนั้นถูกต้องหมด จะแสดงดังภาพ



หลังจากนั้นกด Finish

ให้สังเกตุว่าจะมี Profile อันใหม่ ที่เป็นอีเมล์เราแยกออกมาอย่างชัดเจน เป็นเมล์ๆ ไป  
และให้ ติ๊กที่เครื่องหมาย Prompt for a profile yo be used (แปลว่า ต้องให้ฉันเลือก Email ก่อนที่จะเข้าโปรแกรม Outlook) และ กด OK ออกมา



หลังจากนั้น  กด OK ออกมา


ทีนี้เมื่อเราเข้าโปรแกรม Outlook โปรแกรมจะถามทันทีว่าคุณต้องการเช็ค Mail ตัวไหน
โดยมันจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจนดังภาพ







วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

POP3 กับ IMAP ต่างกันอย่างไร สำคัญกับระบบ Email Server หรือ Email Hosting อย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง POP3 กับ IMAP


บริษัท องค์กรทั่วไป หรือท่านใด ที่ใช้ระบบ Email Server หรือ Email Hosting หลายท่าน ต้องการเชื่อมต่อระบบอีเมล์ เข้ากับโปรแกรม E-mail Client (โปรแกรมเปิดดูอีเมล์ในเครื่อง) เช่น Microsoft Outlook เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ท่านคงสงสัยว่า ในขั้นตอนการเพิ่มอีเมล์ลงในโปรแกรม (Add Account) จะถามวิธีการติดต่อ ระหว่างแบบ POP3 กับแบบ IMAP ที่เห็นในโปรแกรม นั้นคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร 

POP3 ย่อมาจากคำว่า "Post Office Protocal 3" ส่วน IMAP ย่อมาจากคำว่า "Internet Message Access Protocal" เป็นโปรโตคอลสำหรับการรับอีเมล์เหมือนกัน แต่โปรโตคอลทั้งสองมีการทำงานต่างกันดังนี้

POP3

ระบบการเชื่อมต่อ

1. โปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดจาก Email Server  เข้ามาในเครื่อง
2. เมื่อทำการดาว์นโหลดเรียบร้อย จะทำการลบอีเมล์ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Email Server ออก หรือ จะเก็บไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะลบอีเมล์นั้นออกจาก Server
3. หลังจากที่อีกเมล์ โปรแกรมจะตัดการเชื่อมต่อกับ Email Server

ข้อดี

1. มีโปรโตคอลไม่ซับซ้อน ทำให้ใช้เวลาเชื่อมต่อน้อย เข้าดูอีเมล์ได้ไวขึ้น
2. ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลบน E-mail server น้อย เนื่องจากมีการลบอีเมล์บน Email Server หลังจากการอ่านข้อความอีเมล์ในโปรแกรม ตลอดเวลา

ข้อเสีย 

1. ไม่สามารถอ่านอีเมล์จาก Email Server ได้  เนื่องจากถูกลบไปแล้ว
2. ไม่สามารถอ่านอีเมล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
3. การจัดการอีเมล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ (การ Process mail) ไม่มีผลกับ Email Server เช่น การย้ายไฟล์ ลบไฟล์ การตั้งค่าว่ายังไม่ได้อ่าน การส่งต่ออีเมล์ เป็นต้น

IMAP

ระบบการเชื่อมต่อ

1. เมื่อใช้ระบบนี้ ทาง Email Server จะส่งหัวข้อเรื่องให้กับโปรแกรมที่ใช้งาน (เช่น Outlook) แต่จะยังไม่ได้ดาวน์โหลดอีเมล์ลงในคอมพิวเตอร์
2. เมื่อผู้ใช้งาน เปิดดูอีเมล์ โปรแกรมถึงจะทำการดาวน์โหลดอีเมล์ลงมาในเครื่องคอมพิวเตอร์
3. เมื่อผู้ใช้งานจัดการอีกเมล์อะไรก็ตาม โปรแกรมจะส่งค่าการจัดการไปยัง Email Server เพื่อให้ อีเมล์ใน Server ถูกจัดการตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ข้อดี

1. สามารถอ่านอีเมล์ได้จากที่ไหนก็ได้ หรือคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ เนื่องจากข้อมูลอีเมล์จะอยู่ใน Email Server ตลอดเวลา
2. การจัดการอีเมล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีผลกับ Email Server ทั้งหมด

ข้อเสีย 

1. มีโปรโตคอลที่ค่อนข้างซับซ้อน เสียเวลาในการเชื่อมต่อ ดูอีเมล์ได้ช้ากว่าแบบ POP
2. มีโปรแกรมที่ใช้งานระบบนี้ได้น้อยกว่าแบบ POP
3. Email Server บางตัวไม่รองรับการเชื่อต่อแบบ IMAP


โดยรวมแล้ว ประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนใหญ่ ระบบ IMAP จะดีกว่า ระบบ POP แต่ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบตามสภาพแวดล้อมของท่านด้วยว่า ระบบที่บริษัทหรือองค์กรของท่าน สามารถรองรับการทำงานแบบ IMAP ได้หรือไม่ เช่น Email Server โปรแกรม E-mail client ความเร็วของอินเทอร์เน็ต เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีตั้ง อีเมล์ (Email) สำหรับ ธุรกิจ บน Samsung หรือ ระบบ Android



 บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบอีเมล์ (Email) สำหรับองค์กร,อีเมล์ธุรกิจ,อีเมล์สำหรับธุรกิจ
โทร: 02-4649211-12

ไปที่ Setting > Accounts & sync ดังภาพ

เลือกไปที่ ADD ACCOUNT ดังภาพ


เลือกไปที่ Email ดังภาพ


บรรทัดแรกให้ใส่ Email ตนเอง และ
บรรทัดที่สอง ให้ใส่ Password ของ Email
หลังจากนั้น กดไปที่ Next ดังภาพ


เลือกไปที่ IMAP ดังภาพ

Username: ให้ใส่เป็น Email ตนเอง
Password: ให้ใส่ Password ของ Email ตนเอง
IMAP server: mail.worldcloudmail.com
Port: 143
Sercurity type: None
และกดไปที่ Next ดังภาพ


SMTP server: mail.worldcloudmail.com
Port: 587
Security type: None
Require sign-in.: ติ้กถูก
Username: ให้ใส่เป็น Email ตนเอง
Password: ให้ใส่ Password ของ Email ตนเอง


Inbox checking frequency: เลือกเป็น 15 นาที (หมายถึง เช็คอีเมล์ ทุกๆ 15 นาที)
ในช่องอื่นๆ (ลูกค้าสามารถกำหนดการแจ้งเตือน ตามความต้องการได้)
หลังจากนั้น
ให้กดไปที่ Next ดังภาพ 



หลังจากนั้น ช่องแรกให้กรอกข้อมูลเป็น
Email ของตนเอง ช่อง Your name ให้กำหนดเป็นชื่อตนเอง หรือ ชื่อองค์กร (ชื่อนี้จะปรากฏต่อผู้อ่านอีเมล์ของท่าน)



 บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบอีเมล์ (Email) สำหรับองค์กร,อีเมล์ธุรกิจ,อีเมล์สำหรับธุรกิจ
โทร: 02-4649211-12

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีติดตั้ง ระบบ Email Server, Email Hosting ที่ติดตั้งได้ง่ายที่สุดบน iPhone, iPad (Apple)



 บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบอีเมล์ (Email) สำหรับองค์กร,อีเมล์ธุรกิจ,อีเมล์สำหรับธุรกิจ
โทร: 02-4649211-12

ระบบ Email Server, Email Hosting, Cloud Email, Email สำหรับธุรกิจ และ องค์กร  โดยการพัฒนาร่วมกันระหว่างทีมวิศวกร ของบริษัทฯ เรากับทีมวิศวกร ของประเทศออสเตเรีย ทำให้เป็นระบบหนึ่งที่ ทั่วโลกใช้กัน เราลองมาดูวิธีติดตั้ง บน iPhone, iPad อุปกรณ์ยอดนิยมของคนสมัยนี้

ให้เข้า Apps: Safari หลังจากนั้นให้พิมพ์ชื่อเว็บ mail.worldcloudmail.com
หลังจากนั้นให้ใส่ Email และ Password และ กดไปที่ Get My iOS Profile


หลังจากนั้นจะแสดงหน้าจอดังภาพ เพื่อให้คุณยืนยันว่าคุณต้องการเพิ่มข้อมูล
Email นี้เข้าสู่ iPhone,iPad คุณจริงๆ


หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้ยืนยันอีกครั้ง หากต้องการให้กด Install Now


หลังจากนั้น ให้คุณเข้าไปที่ Apps: Mail คุณจะสามารถเช็คอีเมล์ ผ่าน iPhone, iPad ได้ทันที


Technology Land Co.,Ltd.
ผู้ให้บริการ ระบบ Email Server, Email Hosting, Email สำหรับองค์กร